วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

องค์ประกอบทักษะชีวิต(Life Skills)

องค์การอนามัยโลก (WHO)ปี 1997
แบ่งเป็น 10 ทักษะ หรือ 5 คู่ตามพฤติกรรมการเรียนรู้ 3 ด้าน
1. ด้านพุทธิพิสัย ประกอบดวย
- ทักษะการคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking)
- ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical thinking)
2. ด้านจิตพิสัย ประกอบดวย
- ทักษะการตระหนักรู้ในตน (Self awareness)
- ทักษะการเข้าใจผู้อื่น (Empathy)
3. ดานทักษะพิสัย มี 3 คูไดแก
- ทักษะการสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสาร(Interpersonal relationship and Communication skills)
- ทักษะการตัดสินใจและการแก้ปัญหา(Decision making and Problem solving)
- ทักษะการจัดการกับอารมณ์ และการจัดการกับความเครียด(Coping with emotion) and Coping with stress)
ที่มา: ยงยุทธ วงศภิรมยศานติ์ และสุวรรณาเรือง กาญจนเศรษฐ์.2553 : 4-6)(WHO.1997 : 23-25)
World Health Organization. Life Skills Education in School. Geneva : WHO, 1997.

องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCOปี 2001
1. ทักษะการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์
2. ทักษะในการประเมินศักยภาพของตนเองในสถานการณ์เฉพาะหน้า
3. ทักษะในการคิดหาทางเลือกและวิเคราะห์จัดลำดับ
4. ทักษะในการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลในการเลือกทางที่เหมาะสมที่สุด
5. ทักษะในการสื่อสารเพื่อถ่ายทอดและการตัดสินใจ
6.ทักษะในการปฏิเสธการเจรจาต่อรองเพื่อรักษาน้ำใจและเพื่อประโยชน์อันชอบธรรมของตนเอง
7. ทักษะการควบคุมอารมณ์ ความคิดเห็นและพฤติกรรมภายใต้แรงกดดัน
8. ทักษะการพัฒนาและปรับเปลี่ยนทัศนคติของตนเองและผู้เกี่ยวข้อง
9.ทักษะการใช้เหตุผลโน้มน้าวจูงใจผู้อื่นให้คล้อยตามและสนับสนุนแนวคิดและการกระทำที่ถูกต้อง
ที่มา:เทพ สงวนกิตติพันธุ์. (2545) ทักษะชีวิต .กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์,
ประวัติ เอราวรรณ์ , นุชวนา เหลืองอังกูล. (2544) รายงานการวิจัย การสร้างแบบประเมิน
ทักษะชีวิตและผลการส่งเสริมทักษะชีวิตโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพฯ : กรมสุขภาพจิต.

กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการปี 2538
แบ่งเป็น 12 ทักษะ
1. ทักษะความคิดวิเคราะห์วิจารณ์
2. ทักษะความคิดสร้างสรรค์
3. ทักษะความตระหนักรู้ในตน
4. ทักษะความเห็นใจผู้อื่น
5. ทักษะความภูมิใจในตนเอง
6. ทักษะความรับผิดชอบต่อสังคม
7. ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ
8. ทักษะการสื่อสาร
9. ทักษะการตัดสินใจ
10. ทักษะการแก้ไขปัญหา
11. ทักษะการจัดการกับอารมณ์
12. ทักษะในการจัดการกับความเครียด
ที่มา:กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2541) คู่มือส่งเสริมสุขภาพจิตนักเรียน
ระดับมัธยมศึกษาสำหรับครู กรุงเทพ

ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 (Lifelong Kindergarten Group, MIT Media Lab)
แบ่งเป็น 1 ทักษะหลัก และ 4 ทักษะย่อย ดังนี้
- ทักษะหลัก คือ ทักษะระหว่างบุคคลและเข้าใจตนเอง (Interpersonal & Self-Directional Skills)
- ทักษะย่อย ได้แก่
1. ทักษะระหว่างบุคคลและการร่วมมือร่วมใจ (Interpersonal and Collaborative Skills)
2. ทักษะการเข้าใจและรู้ทิศทางของตนเอง (Self-Direction)
3. ทักษะในการปรับตัว (Accountability and Adaptability)
4. ทักษะในฐานะเป็นสมาชิกของสังคม (Social)
ที่มา: Partnership for 21st Century Skills (www.21 stcenturyskills.org)
Used with permission.

ทักษะชีวิต (Life Skills)

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ ซึ่งการพัฒนาผู้เรียน
ให้บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดนั้น จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ
ด้านความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ
ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
การทำงานและการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล
การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทัน
กับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์
ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
การจัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในระดับประถมศึกษา(ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6)
เป็นระดับการศึกษาที่มุ่งเน้นทักษะพื้นฐาน ด้านการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ การคิดพื้นฐาน
การติดต่อสื่อสาร กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม และพื้นฐานความเป็นมนุษย์ การพัฒนาคุณภาพชีวิต
อย่างสมบูรณ์และสมดุลทั้ง ด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และวัฒนธรรม
โดยเน้นจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
สรุป องค์ประกอบทักษะชีวิต (Life Skills) จากการศึกษาดังกล่าว
ผู้เขียนได้สังเคราะห์เกี่ยวกับการส่งเสริมทักษะชีวิตให้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน (ระดับประถมศึกษา)
เน้นทักษะพื้นฐาน องค์ประกอบทักษะชีวิต ได้แก่
1. ทักษะความคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Skills)
2. ทักษะในการสื่อสารและรู้ทิศทางของตนเอง (Communication and Self-Direction Skills)
3. ทักษะระหว่างบุคคลและการร่วมมือร่วมใจ (Interpersonal and Collaborative Skills)

อ้างอิง:หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551